26/09/2024

ผู้บริหารกลุ่มบริษัทโซลาร์ทีเอช ร่วมเปิดโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ชั้นนำของไทย

ผู้บริหารกลุ่มบริษัทโซลาร์ทีเอช ร่วมเปิดโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ชั้นนำของไทย

เมื่อวันพุธที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา คณะผู้บริหารและผู้ร่วมทุนของกลุ่มบริษัทโซลาร์ทีเอช ชุดใหม่นำโดย มร.เหงียน แวน มิณห์ กรรมการผู้จัดการ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์อันดับต้นๆของประเทศไทยที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
      ซึ่งโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์นี้บริหารงานโดยกลุ่มซันมีกำลังการผลิตมากถึง1,000 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งถือเป็นปริมาณการผลิตที่ค่อนข้างสูง โดยมีการผสมผสานเทคโนโลยีการผลิตแผงโซลาร์เซลล์จากประเทศเยอรมันซึ่งใช้เทคโนโลยีพีอีอาร์ซี(PERC Technology) เครื่องจักรที่ทันสมัยจากประเทศจีน ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีศักยภาพสูงมากกว่า >17.3% มีการนำแผ่นซิลิกอน(Siligon Flavor) และนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตบางส่วนมาจากประเทศจีนและวัตถุดิบในประเทศไทยโรงงานจึงได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโนบายส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานทดแทนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI)เพื่อกระตุ้นการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ไปยังต่างประเทศและใช้ในประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยหรือMIT-Made in Thailand จึงได้แผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล(Teir-1 World Standard) มีการรับประกันสินค้า(Warranthy) ซึ่งสามารถผลิตได้ทั้งแผงแบบPoly Crystalline  และชนิด Mono Crystalline ขนาดตั้งแต่ 300กิโลวัตต์นอกจากนั้นยังมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์อื่นเช่น PID Free, Smart Hot-Spot Free เพื่อเพิ่มศักยภาพของการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย 

กลุ่มบริษัทโซลาร์ทีเอช ตะหนักถึงประสิทธิภาพและเทคโนโลยีในการผลิตแผงโซลาร์เซซล์ดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการลงนามความร่วมมือกับโรงงานในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ภายใต้ตราสินค้า“SolarTH” เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพสูง ราคาสมเหตุสมผลและมีการรับประกันสินค้า รองรับความต้องการของตลาดในประเทศไทยและส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน แอฟริกา ตะวันออกกลางและรัฐเซีย


บทความเพิ่มเติม
การประเมินและการขายคาร์บอนเครดิต
การประเมินและการขายคาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจและองค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาร์บอนเครดิตสามารถนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนในตลาดการซื้อขายคาร์บอน ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าที่กำหนดสามารถขายเครดิตให้กับผู้ที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซได้ตามเป้า1. การประเมินคาร์บอนเครดิตการประเมินคาร์บอนเครดิตเริ่มต้นจากการวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรหรือโครงการ โดยจะประเมินจากกิจกรรมการใช้พลังงาน, การผลิต, การขนส่ง และกระบวนการต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เมื่อทำการประเมินเสร็จสิ้น โครงการที่ประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซได้ จะได้รับหน่วยคาร์บอนเครดิตเป็นการยืนยันผลการลดก๊าซ

คาร์บอนเครดิต สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality 2050 ความร่วมมือเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
คาร์บอนเครดิต สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality 2050 ความร่วมมือเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

เป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 เป็นหนึ่งในแผนการระดับโลกที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรม ความสำเร็จในเป้าหมายนี้ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของภาคส่วนหลักต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง

มารู้จักและอัพเดต “ระบบเก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ลิเธียมในครัวเรือนและอุตสาหกรรม”
มารู้จักและอัพเดต “ระบบเก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ลิเธียมในครัวเรือนและอุตสาหกรรม”

ปัจจุบันการใช้พลังงานหมุนเวียนกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานสะอาดที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่าย การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ช่วยให้เราสามารถเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ แต่ยังมีปัญหาหนึ่งที่ต้องแก้ไข นั่นคือ การจัดการกับพลังงานในช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เช่น ตอนกลางคืนหรือในวันที่มีเมฆครึ้ม ระบบเก็บกักพลังงาน และ แบตเตอรี่ลิเธียม จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหานี้1. การทำงานของระบบเก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์แผงโซลาร์เซลล์ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าในรูปแบบกระแสตรง (DC) จากนั้นไฟฟ้าจะถูกแปลงเป็นกระแสสลับ (AC) ผ่าน อินเวอร์เตอร์ เพื่อใช้งานในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรม แต่ในช่วงที่พลังงานถูกผลิตมากเกินกว่าการใช้งาน ระบบเก็บกักพลังงานเข้ามามีบทบาทในการเก็บพลังงานส่วนเกินนั้นไว้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในเวลาที่พลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ2. ประโยชน์ของแบตเตอรี่ลิเธียมแบตเตอรี่ลิเธียมเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสูงสำหรับการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากมีความสามารถในการเก็บพลังงานมากกว่าชนิดอื่น ๆ และมีอายุการใช้งานยาวนาน แบตเตอรี่ลิเธียมยังมีข้อได้เปรียบดังนี้:ประสิทธิภาพสูง: แบตเตอรี่ลิเธียมมีอัตราการสูญเสียพลังงานที่ต่ำ จึงสามารถเก็บพลังงานได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประเภทอื่นอายุการใช้งานยาวนาน: แบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถชาร์จและใช้งานซ้ำได้หลายพันรอบ ทำให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นการบำรุงรักษาต่ำ: ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก และสามารถติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัดได้ง่าย3. การใช้งานในครัวเรือนสำหรับบ้านเรือน ระบบโซลาร์เซลล์ร่วมกับแบตเตอรี่ลิเธียมช่วยให้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้อย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ค่าไฟฟ้าสูงหรือพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งไฟฟ้า การเก็บพลังงานในแบตเตอรี่ลิเธียมจะช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถใช้พลังงานที่เก็บได้ในช่วงเวลากลางคืนหรือในวันที่ฟ้าครึ้ม ซึ่งเป็นการลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากระบบสาธารณูปโภค4. การใช้งานในอุตสาหกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรม ระบบนี้เป็นทางเลือกที่ดีในการลดต้นทุนด้านพลังงาน โดยเฉพาะโรงงานที่ต้องการใช้พลังงานจำนวนมากในช่วงเวลาที่ไฟฟ้ามีราคาแพง นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงานหรือไฟดับ แบตเตอรี่ลิเธียมสามารถจัดเก็บพลังงานที่ผลิตเกินจากแผงโซลาร์เซลล์ไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็น ซึ่งส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ5. การลงทุนและความคุ้มค่าแม้ว่าในตอนแรกการติดตั้งระบบเก็บกักพลังงานและแบตเตอรี่ลิเธียมอาจมีค่าใช้จ่ายสูง แต่การลงทุนระยะยาวนี้สามารถคืนทุนได้จากการลดค่าไฟฟ้าและการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม